วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2554

กุศลกรรมบถ 10

กุศลกรรมบท ๑๐กุศลกรรมบท ๑๐ เป็นหนทางแห่งการทำความดีงาม ทางแห่งกุศลซึ่งเป็นหนทางนำไปสู่ความสุข ความเจริญ
แบ่งออกเป็น ๓ ทางคือ กายกรรม ๓ วจีกรรม ๔ และมโนกรรม ๓

๑. กายกรรม ๓ หมายถึง ความประพฤติดีที่แสดงออกทางกาย ๓ ประการ ได้แก่

(๑) เว้นจากการฆ่าสัตว์ คือ การละเว้นจากการฆ่าสัตว์ การเบียดเบียนกัน เป็นผู้มีเมตตา กรุณา
(๒) เว้นจากการลักทรัพย์ คือ ละเว้นจากการลักขโมย เคารพในสิทธิของผู้อื่น ไม่หยิบฉวย เอาของคนอื่นมาเป็นของตน
(๓) เว้นจากการประพฤติผิดในกาม คือ การไม่ล่วงละเมิดสามีหรือภรรยาผู้อื่น ไม่ล่วง ละเมิด ประเวณีทางเพศ

๒. วจีกรรม ๔ หมายถึง การเป็นผู้มีความประพฤติดีซึ่งแสดงออกทางวาจา ๔ ประการ ได้แก่

(๑) เว้นจากการพูดเท็จ คือ พูดแต่ความจริง ไม่พูดโกหก หลอกลวง
(๒) เว้นจากการพูดส่อเสียด คือ พูดแต่ในสิ่งที่ทำให้เกิดความสามัคคี กลมเกลียว ไม่พูดจา ในสิ่งที่ก่อให้เกิดความ แตกแยก แตกร้าว
(๓) เว้นจากการพูดคำหยาบ คือ พูดแต่คำสุภาพ อ่อนหวาน อ่อนโยน กับบุคคลอื่นทั้ง ต่อหน้า และลับหลัง
(๔) เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ คือพูดแต่ความจริง มีเหตุมีผลเน้นเนื้อหาสาระที่เป็น ประโยชน์ พูดแต่สิ่งที่จำเป็นและพูดถูกกาลเทศะ

๓. มโนกรรม ๓ หมายถึง ความประพฤติที่เกิดขึ้นในใจ ๓ ประการ ได้แก่

(๑) ไม่อยากได้ของของเขา คือ ไม่คิดจะโลภอยากได้ของผู้อื่นมาเป็นของตน
(๒) ไม่พยาบาทปองร้ายผู้อื่น คือ มีจิตใจดี มีความปรารถนาดี อยากให้ผู้อื่นมีความสุข ความเจริญ
(๓) มีความเห็นที่ถูกต้อง คือ มีความเชื่อในเรื่องการทำความดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว และมี ความ เชื่อว่า ความพยายามเป็นหนทางแห่งความสำเร็จ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น